ปฎิทินG12

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อุตุฯยกเครื่องเตือนภัยใช้“แถบสี”

                                               

   
    วันที่ 29 ส.ค. ที่กรมอุตุนิยมวิทยา  นายสมชาย ใบม่วง รองอธิบดีฯ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานการจัดทำมาตรฐานการเตือนภัยพิบัติเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติ เปิดเผยว่า กรมอุตุฯจะนำมาตรฐานการเตือนภัยโดยใช้แผนที่และแถบสีแสดงความรุนแรงของภัยทั้งเรื่องฝน พายุ ภัยแล้ง และคลื่นลมในทะเลมาใช้เตือนภัยเพิ่มเติม จากเดิมที่ใช้ประกาศเป็นคำพูดอย่างเดียวมานาน 70 ปี โดยจะกำหนดเป็น 4 แถบสี คือ สีเขียว คือ มีความปลอดภัย สีเหลือง คือ ให้เฝ้าระวังเตรียมตัว สีส้ม คือ ให้ระวังมีภัย และสีแดง คือ ภัยมีความรุนแรงมาก

    การปรับเปลี่ยนมาใช้แถบสีเตือนภัย เนื่องจากหากใช้ประกาศเป็นคำพูดอย่างเดียวมีประชาชนบางส่วนไม่เข้าใจ จึงได้เพิ่มการเตือนภัยโดยใช้แถบสีและสัญลักษณ์ เพื่อให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ขณะที่การใช้ประกาศคำพูดก็ยังมีเหมือนเดิม  เช่น การเตือนภัยเรื่องฝนจะวัดปริมาณฝนในช่วง 24 ชั่วโมง หากมีฝนตกปริมาณ 90.1-150 มิลลิเมตร จะเป็นเตือนเป็นแถบสีส้มให้ประชาชนระวังภัยเป็นพิเศษ หากปริมาณฝนมากว่า 150 มิลลิเมตร จะเตือนโดยใช้แถบสีแดง คือมีความรุนแรงมาก  ส่วนจะมีการประกาศอพยพหนีภัยหรือไม่จะเป็นหน้าที่ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำข้อมูลของกรมฯไปวิเคราะห์ประมวลผลถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

      นายสมชาย กล่าวต่อว่า มาตรฐานเตือนภัยโดยใช้แถบสีมีการใช้กันในทวีปยุโรป ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก แนวคิดนี้ทางกรมฯและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้นำเรียน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว แต่การนำมาใช้ขณะนี้อยู่ขั้นตอนการจัดประชาพิจารณ์ รวมถึงการให้ความรู้เรื่องหลักเกณฑ์แก่เจ้าหน้าที่ระดับปฎิบัติการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรธรณี ฯลฯ เพื่อให้การเตือนภัยเป็นหลักเกณฑ์เดียวกัน ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มนำมาทดลองใช้เตือนภัยแบบหลายวันแล้วผ่านเว็บไซต์ www.tmd.go.th คาดว่าจะสามารถนำมาใช้จริงได้ในปลายเดือนเม.ย.หรือในช่วงต้นฤดูฝนของปีหน้า





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น